ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไป
อาข่า เป็นแขนงหนึ่งของ ชนเผ่าธิเบต-พม่า รูปร่างเล็กแต่ล่ำสันแข็งแรง ผิวสีน้ำตาลอ่อนและกร้าน ผู้หญิงมีศีรษะกลม ลำตัวยาวกว่าน่อง และขา แขน และขาสั้นผิดกับผู้ชาย มีภาษาพูดมาจากแขนงชาวโล-โล คล้ายกับภู ภาษาลาหู่ (มูเซอ) และลีซู (ลีซอ) ไม่มีตัวอักษรใช้ วัฒนธรรมของคนอาข่าทำให้พวกเขามองชีวิตของคนในเผ่าเป็นการต่อเนื่องกัน เด็กเกิดมาเป็นประกันว่าเผ่าจะไม่สูญพันธุ์ พอโตขึ้นกลายเป็นผู้สร้างเผ่า และเป็นผู้รักษา “วีถีชีวิตอาข่า” ในที่สุดก็ตาย และกลายเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานต่อไป กฎต่าง ๆ เหล่านี้ครอบคลุมทุกคนในเผ่า ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแนวทางสอน และแนะนำทุกคนในเรื่องของกฎหมายของเผ่า ประเพณี ศาสนา ยา และการรักษาโรค กสิกรรม สถาปัตยกรรม การตีเหล็ก และการทำของเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำเพาะ พวกเขาไม่มีตัวหนังสือใช้แม้จะไม่ได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลาย ลักษณ์อักษร อาข่าก็มีตำนาน สุภาษิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีการมากมาย ที่ทำให้หมายรู้ในเผ่าพันธุ์ และซาบซึ้งในความเป็นอาข่าของตน เขาสามารถสืบสาวรายงานบรรพบุรุษฝ่ายบิดาขึ้นไปได้ถึงตัว “ต้นตระกูล” และรู้สึกว่าท่านเหล่านั้น ก่อกำเนิดชีวิตเขามา และประทานวิชาความร้ ในการเลี้ยงชีวิตมาโดยตลอด เพราะเหตุที่มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโซ่สร้อยซึ่งร้อยมายาวนักหนา
อาข่า เป็นแขนงหนึ่งของ ชนเผ่าธิเบต-พม่า รูปร่างเล็กแต่ล่ำสันแข็งแรง ผิวสีน้ำตาลอ่อนและกร้าน ผู้หญิงมีศีรษะกลม ลำตัวยาวกว่าน่อง และขา แขน และขาสั้นผิดกับผู้ชาย มีภาษาพูดมาจากแขนงชาวโล-โล คล้ายกับภู ภาษาลาหู่ (มูเซอ) และลีซู (ลีซอ) ไม่มีตัวอักษรใช้ วัฒนธรรมของคนอาข่าทำให้พวกเขามองชีวิตของคนในเผ่าเป็นการต่อเนื่องกัน เด็กเกิดมาเป็นประกันว่าเผ่าจะไม่สูญพันธุ์ พอโตขึ้นกลายเป็นผู้สร้างเผ่า และเป็นผู้รักษา “วีถีชีวิตอาข่า” ในที่สุดก็ตาย และกลายเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานต่อไป กฎต่าง ๆ เหล่านี้ครอบคลุมทุกคนในเผ่า ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นแนวทางสอน และแนะนำทุกคนในเรื่องของกฎหมายของเผ่า ประเพณี ศาสนา ยา และการรักษาโรค กสิกรรม สถาปัตยกรรม การตีเหล็ก และการทำของเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำเพาะ พวกเขาไม่มีตัวหนังสือใช้แม้จะไม่ได้มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลาย ลักษณ์อักษร อาข่าก็มีตำนาน สุภาษิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีการมากมาย ที่ทำให้หมายรู้ในเผ่าพันธุ์ และซาบซึ้งในความเป็นอาข่าของตน เขาสามารถสืบสาวรายงานบรรพบุรุษฝ่ายบิดาขึ้นไปได้ถึงตัว “ต้นตระกูล” และรู้สึกว่าท่านเหล่านั้น ก่อกำเนิดชีวิตเขามา และประทานวิชาความร้ ในการเลี้ยงชีวิตมาโดยตลอด เพราะเหตุที่มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโซ่สร้อยซึ่งร้อยมายาวนักหนา
การอพยพโยกย้ายของชาวอาข่าเข้าสู่ประเทศไทย
การอพยพของชาวอาข่าเข้าสู่ประเทศไทย อาข่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งมีบรรพบุรุษพื้นเพเดิม อาศัยอยู่ ทางตอนใต้ของประเทศจีน และเมื่อประมาณ 110 กว่าปี อาข่าได้อพยพโยกย้ายเข้าสู่ประเทศไทย โดยมี เส้นทาง 2 เส้นทางคือ เส้นทางแรก อพยพจากประเทศพม่าแคว้นเชียงตุง เข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากเกิดปัญหาทางการเมือง ด้านฝั่งเขตอำเภอแม่จัน ทางหมู่บ้านพญาไพร (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง) โดยการนำของแสนอุ่นเรือน ชื่อภาษาอ่าข่าว่า "หู่ลอง จูเปาะ"และ เข้ามาอาศัยอยู่ในเขตบนดอยตุงจนกระทั่ง เสียชีวิต ส่วนแสนพรหม ชื่อภาษาอ่าข่าว่า "หู่ปอ เจ่วปอ" ซึ่งเป็นน้องของแสนอุ่นเรือน ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้าน อาข่าทางฝั่งอำเภอแม่สาย เขตบริเวณบ้านผาหม ีและหมู่บ้านอาข่าเขตอำเภอเชียงแสน หรือบ้านดอยสะโง้ ส่วนแสนใจ มีภาษาอาข่าเรียกว่า "ถู่แช เจ่วปอ" เป็นหลานของแสนอุ่นเรือน อีกคนหนึ่งได้มาตั้งหมู่บ้านแสนใจ ในเขตอำเภอแแม่จัน (ปัจจุบันเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง)
เส้นทางที่สอง อาข่า ได้อพยพโดยตรงจากประเทศจีนโดยเดินทางผ่านบริเวณตะเข็บชายแดนพม่า และแม่น้ำโขงประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย ปัจจุบันชุมชนอาข่าได้กระจัดกระจาย ตั้งชุมชนอยู่ในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย คือ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก น่าน และ เพชรบูรณ์ สายตระกูลอาข่าที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย (ตามที่กล่าวมา) มีทั้งหมด 5 พี่น้อง
อ่าข่าเป็นชนกลุ่มๆ หนึ่ง ที่ใช้ชื่อเรียกชนกลุ่มตนเองว่าอ่าข่า ในประเทศจีนเรียกว่าฮานีหรือ โวน อ่าข่าสามารถแยกศัพท์ได้ดังนี้ อ่า แปลว่าชื้น ข่า แปลว่าไกล ความหมายของคำว่าอ่าข่าคือ ห่างไกลความชื้น อ่าข่าชื่อนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำมีโรคภัยไข้เจ็บมาก และจากตำนานของอ่าข่าที่เล่าสู่รุ่นหลังมา กล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งอ่าข่าได้เสียชีวิตไปมาก เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำ ซึ่งอ่าข่าเรียกโรคนี้ว่า มี้หิ โรคนี้อาจตรงกับโรคอหิวาตกโรค หรือไข้มาลาเลียอย่างใดอย่างหนึ่ง จากตำนานและแนวความเชื่อมีผลต่อที่อยู่อาศัย อ่าข่าจึงมักอยู่ดอยสูงๆ อาศัยอยู่เฉพาะในทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ดังนี้ ประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และประเทศจีน ตามตำนานเล่าขานกันมาเดิมอ่าข่าอาศัยอยู่จีนเป็นแผ่นดินใหญ่ หรือที่อ่าข่าเรียกว่าดินแดน จ่าแตหมี่ฉ่า จากคำบอกเล่าพบว่าชนเผ่าอ่าข่าได้อพยพสู่ดินแดนต่างๆ เพราะปัญหาการเมืองในประเทศจีน สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ . ศ .2435 โดยมีเส้นทาง 2 สาย คือ สายแรกอพยพจากประเทศพม่าสู่ประเทศไทย เข้ามาครั้งแรกในเขตอำเภอแม่จัน หมู่บ้านพญาไพร ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ) โดยการนำของ หู่ลอง จูเปาะ และหู่ซ้อง จูเปาะ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ได้เข้าในเขตดอยตุง เส้นทางที่สอง ได้อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยผ่านรอยตะเข็บของประเทศพม่าและลาว เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันอ่าข่าได้กระจ่ายอยู่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ และคาดได้มีอ่าข่าบางส่วนได้อพยพไปอยู่จังหวัดน่าน พิษณุโลก และหลายจังหวัดของประเทศไทย เพราะไปใช้แรงงานในจังหวัดดังกล่าว อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าอ่าข่าให้ความกระจ่างว่าอ่าข่าประเทศไทยส่วนมากอพยพมาจากเชียงตุงของพม่า เข้ามาและปักหลักแหล่งครั้งแรกที่บ้านดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ผู้นำรุ่นแรกที่เข้ามาในประเทศไทยคือนายแสน อุ่นเรือน ส่วนญาติพี่น้องได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านต่างๆ เช่นบ้านแสนใจพัฒนา ผาหมี และแสนเจริญเก่า ในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้ |
อาข่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่าและมีความสุขมากที่สุด เนื่องจากภูมิประเทศที่อยู่อาศัยเป็นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี พวกเขาจะมองเห็นความงดงามของธรรมชาติรอบข้างตลอดชีวิต
จึงทำให้พวกเขามีจิตใจที่เบิกบานอยู่เสมอแม้ว่าชีวิตในแต่ละวันจะมุ่งอยู่กับงานที่หนักหนาเพียงใดก็ตาม เมื่อมองออกไปเบื้องหน้าก็จะเห็นแต่ภูเขาที่สูงตระหง่าน มองดูสลับซับซ้อนไปจนสุดตาซึ่งจะเปลี่ยนสีสันไปตามฤดูกาลทำให้ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายและคลายความเหน็ดเหนื่อยลงได้
-อาข่าเป็นกลุ่มชนที่มีจิตใจดีงามเสมอ รักธรรมชาติ รักความสงบและชอบสันโดษ ไม่ชอบความรุนแรง เป็นชาวเขาเพียงเผ่าเดียวที่มีการติดต่อกับคนนอกเผ่าน้อยที่สุด ชาวอาข่ามีความสุขได้ทุกเมื่อแม้ในยามเดินทางกลับบ้านเพียงผู้เดียวก็จะร้องเพลงดังๆ เพื่อปลอบใจตนเอง ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของชนเผ่าอาข่าคือการร้องเพลงตอบโต้ในระหว่างหนุ่มสาวที่กำลังทำไร่อยู่คนละดอย หรือผู้อาวุโสร้องเพลงเพื่อสั่งสอนลูกหลานให้รู้ถึงตำนานของชาวอาข่า เป็นต้น
-เสียงดนตรีที่เร้าใจ เช่น แคนน้ำเต้าและขลุ่ยหรือเครื่องเป่าชนิดอื่นๆ ประกอบกับการเต้นรำด้วยจังหวะช้าๆ ในคืนเดือนหงายบนลานสาวกอด หรือในยามที่มีประเพณีต่างๆบนดอย จะชวนให้เด็กและหนุ่มสาวผู้มีดนตรีในหัวใจออกมาร้องเพลงอย่างสนุกสนาน
-เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นบนยอดดอยสูงซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกเขาจึงทำให้พวกชาวอาข่าไม่ชอบอาบน้ำกันบ่อย ในปีหนึ่งพวกเขาจะอาบน้ำกันปีละหนึ่งถึงสองครั้งเท่านั้น และบางครั้งก็เป็นเพียงแค่เอาน้ำลูบหน้าและศีรษะเท่านั้นก็เสร็จ ดังนั้นการทำความสะอาดฟันก็ไม่มีเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่ชาวอาข่านิยมกินหมากเพื่อเป็นการรักษาปากและฟัน แต่สำหรับคนหนุ่มสาวนิยมใส่ฟันทองกันมากกว่า
-ในอดีตชีวิตของกลุ่มชุมชนชาวอาข่ามักจะขาดคุณภาพชีวิตอยู่มากไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน การรักษาสุขภาพอนามัยก็ตามดังนั้น ชาวอาข่าจึงเจ็บไข้ได้ป่วยล้มตายกันบ่อยๆ แต่พวกเขาจะเชื่อว่าเป็นการกระทำของผีป่าหรือผีบ้านเสมอ จึงต้องมีหมอผีประจำหมู่บ้านขึ้น
-ชาวอาข่าเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากภูตผีได้จับเอาขวัญของคนไว้เพราะเชื่อว่าในคนๆหนี่งจะมีขวัญอยู่ 12 ขวัญ -หากผีจับเอาขวัญของคนไว้เพียงขวัญเดียว ก็จะทำให้คนๆนั้นล้มป่วยลงได้ ถ้าขวัญทั้ง 12 ออกจากร่างไปเมื่อใดก็หมายถึงความตายทันที วิธีรักษาก็จะต้องอาศัยหมอผีช่วยตรวจดูว่าผีใดเป็นต้นเหตุแห่งการเจ็บป่วยและต้องการเครื่องเซ่นอะไร ก็จะจัดพิธีเซ่นไหว้ตามแต่จะต้องการให้จนกว่าจะหายป่วยเป็นปกติ
-ในปัจจุบันเมื่อทางการได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาและด้านการสาธารณะสุขในหมู่บ้านชาวเขาบนดอยจึงทำให้คุณภาพชีวิตชาวอาข่าดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ส่วนมากจะหันมาใช้ยาแผนปัจจุบันรักษาโรคต่างๆ ตลอดจนนิยมใช้โรงพยาบาลในเมืองมากขึ้น เป็นต้น
-เนื่องจากธรรมชาติได้สอนให้ชาวอาข่ามีความถนัดในด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ การปลูกข้าวโพด และพืชไร่ตลอดจนพืชผักต่างๆ ชาวอาข่าจะนิยมปลูกบนไหล่เขาบนดอยสูงและจะอดทนกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้ดีกว่าสภาพอากาศที่ร้อน ซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่สบายได้ง่ายด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ชาวอาข่าไม่ค่อยจะลงไปจากดอยบ่อยนัก การคบหาสมาคมกับผู้คนพื้นราบจึงน้อยลงไปด้วย
-การกินเนื้อสุนัขสีดำ อาข่าถือว่าเป็นว่าสิ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอบอุ่น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พวกเขาจึงนิยมกินเนื้อสุนัขกินเนื้อสุนัขสีดำกันเสมอ โดยเฉพาะในหญิงที่คลอดบุตรใหม่ๆ มักจะให้กินเนื้อสุนัข ทั้งนี้เชื่อว่าเพื่อที่จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวและเข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วนั่นเอง
-สังคมอาข่าจะปลูกฝังให้ทุกคนต้องเคารพและเชื่อฟังคำสั่งสอนของบรรพบุรุษสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ในรอบปีหนึ่งๆ ชาวอาข่าจะมีพิธีกรรมอยู่มากมายที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งผู้อาวุโสจะจดจำและถ่ายทอดไปสู่รุ่นหลานได้หมดสิ้น
-ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของชาวอาข่าคือการสูบยาเส้น หญิงสาวอาข่ามักจะปลูกต้นยาสูบ เก็บใบไปหั่นตากแห้งเอาไว้ใส่ในกล่องยาสูบซึ่งทำขึ้นเอง กลิ่นยาเส้นของชาวอาข่า อาจจะทำให้คนนั่งใกล้ทนไม่ได้ซึ่งเป็นสาเหตูหนึ่งที่ทำให้ชาวอาข่ารู้สึกว่าถูกรังเกียจเหยียดหยาม
-แต่ถ้าหากมีโอกาสขึ้นไปเยี่ยมบ้านของชาวอาข่าเขาก็จะรับรองแขกด้วยน้ำชาเป็นอันดับแรกเสมอ นอกจากนี้เหล้าก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในสังคมอาข่า“ยินะ” หรือเหล้า มักมีบทบาททุกครั้งในพิธีกรรมต่างๆของชาวอาข่า แต่จะไม่มีการดื่มเหล้าจนเมามายซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นเรื่องน่าละอายอย่างมาก
-ชาวอาข่ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสงบและเชื่อฟังผู้นำอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะในเรื่องของพิธีกรรม และประเพณีของเผ่า ชาวอาข่ามักจะเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์ทั้งหลายในป่าเขาเป็นผู้คุ้มครองให้ชาวบ้านในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุขได้ หากมีการทำผิดหรือหลบหลู่ผีบรรพบุรุษจะทำให้เดือดร้อนจนเจ็บป่วยได้ ดังนั้นชาวอาข่าจึงกระทำพิธีเซ่นไหว้ขอขมาและจัดเลี้ยงผีอยู่เสมอ
ที่มา hhttp://bjw6234.orgfree.com/page4.html
http://hilltribe.org/thai/akha/
http://www.cmdiocese.org/th/ethnic/akha/34-34
http://hilltribe.org/thai/akha/
http://www.cmdiocese.org/th/ethnic/akha/34-34